วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

aftc สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า


aftc สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

 
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในประเทศไทยของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. สำหรับปีงบประมาณ 2551 – 2553
  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET 
  2. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า 
  3. เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐ
  4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป 
  5. เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ



ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET ให้ความสำคัญกับ
ก.  สนับสนุน AFET ในเรื่องดังต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนา Contract Specifications ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน รวมถึงมีความเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย 
          ก.2    การปรับต้นทุนการซื้อขายล่วงหน้า (Transaction Cost) ในระดับที่เหมาะสมและแข่งขันได้ เพื่อจูงใจผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายล่วงหน้ามากขึ้น
          ก.3    การพิจารณาใช้ผู้ดูแลสภาพคล่องใน AFET (Market Maker)
ข.  เสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET
          การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้ลงทุน เช่น ในกรณีที่นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าล้มละลาย  ทบทวนฐานความผิดในกรณีการสร้างราคา (Manipulation) และกำหนดบทลงโทษโบรกเกอร์เถื่อน เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้ความสำคัญกับ
ก.  ประสานกับ AFET ในเรื่องต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนาศักยภาพของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าในการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นขึ้น รวมถึง มีการเข้าตรวจกิจการเป็นประจำเพื่อป้องกันการเอาเปรียบลูกค้า
          ก.2    การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ก.3    การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่มีศักยภาพ โดยกำหนดมาตรการที่จูงใจสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และเน้นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจฯ
ข.  การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ
          การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายในการประกอบธุรกิจฯ โดยยังคงคำนึงถึง หลักการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยงของธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในภาพรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐให้ความสำคัญกับ
          ก.   การส่งเสริมให้ภาครัฐนำสินค้าเกษตรในสต็อกออกจำหน่าย โดยวิธีประมูลแบบ Basis ซึ่งใช้กลไกของ AFET (การประมูลแบบใหม่) อย่างต่อเนื่อง
          ข.   การส่งเสริมให้ภาครัฐหันมาใช้ประโยชน์จากกลไก AFET ด้วยโครงการนำร่องใช้กลไกของ AFET เพื่อประกันราคาข้าวเปลือกขั้นต่ำ (ปรข.) และพัฒนาต่อเนื่องเป็นโครงการถาวรทดแทนโครงการรับจำนำในระยะยาวต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาสื่อให้ความรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงเผยแพร่สู่ประชาชนให้รับทราบประโยชน์ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในวงกว้าง
          ข.   การพัฒนาศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
          ค.   การสร้างเครือข่ายกระจายความรู้สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
          ง.   การวางรากฐานความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าสู่เยาวชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาความรู้และทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ก.ส.ล.
          ข.   การสร้างพันธมิตรกับหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ค.   การพัฒนาระบบการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความขัดแย้ง


ความขัดแย้ง

สังเวียนเทคโนโลยีดุเดือด "เฟซบุ๊ก"ฟ้องกลับ"ยาฮู"ฐานละเมิดสิทธิบัตร

วันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 18:12:33 น.



เฟซบุ๊ก เริ่มฟ้องร้องดำเนินคดีกับยาฮู ข้อหาละเมิดสิทธิบัตร เพื่อตอบโต้หลังยาฮู ยื่นฟ้องเฟซบุ๊ก ในข้อหาเดียวกันก่อนหน้านี้

ข้อขัดแย้งระหว่างสองบริษัทยักาใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เมื่อล่าสุด เฟซบุ๊ก เว็บไซต์สังคมออนไลน์ชั้นแนวหน้า ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรกับยาฮู คู่แข่งบนโลกไซเบอร์ ต่อศาลในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ หลังจากเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ยาฮู ได้เปิดฉากยื่นฟ้องเฟซบุ๊กก่อน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรทั้งหมด 10 รายการ ครอบคลุมเรื่องธุรกิจโฆษณาออนไลน์, โปรแกรมการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, และโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์

เฟซบุ๊ก ระบุในการฟ้องกลับครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาของยาฮู ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งกล่าวหายาฮู กลับไปว่า ยาฮู คือฝ่ายละเมิดสิทธิบัตรของเฟซบุ๊ก นับสิบรายการ อาทิเช่น โปรแกรมการแท็กรูปภาพ, ธุรกิจโฆษณา, และโปรแกรมการแนะนำต่างๆบนโลกออนไลน์

เมื่อเร็วๆนี้ เฟซบุ๊กเพิ่งได้รับสิทธิในการครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 750 ฉบับ ครอบคลุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และระบบเครือข่าย  ขณะที่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กครอบครองสิทธิบัตรเพียง 56 ฉบับเท่านั้นในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยาฮู ที่ครอบครองมากกว่า 1,000 ฉบับ

ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่เฟซบุ๊ก กำลังเตรียมเปิดขายหุ้นไอพีโอ ของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากเป็นไปตามคาด เฟซบุ๊กอาจระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้มูลค่าของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยาฮู มีมูลค่าตลาด ในปัจจุบันอยู่ที่ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น


เฟซบุ๊ก เริ่มฟ้องร้องดำเนินคดีกับยาฮู ข้อหาละเมิดสิทธิบัตร เพื่อตอบโต้หลังยาฮู ยื่นฟ้องเฟซบุ๊ก ในข้อหาเดียวกันก่อนหน้านี้

ข้อขัดแย้งระหว่างสองบริษัทยักาใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เมื่อล่าสุด เฟซบุ๊ก เว็บไซต์สังคมออนไลน์ชั้นแนวหน้า ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรกับยาฮู คู่แข่งบนโลกไซเบอร์ ต่อศาลในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ หลังจากเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ยาฮู ได้เปิดฉากยื่นฟ้องเฟซบุ๊กก่อน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรทั้งหมด 10 รายการ ครอบคลุมเรื่องธุรกิจโฆษณาออนไลน์, โปรแกรมการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, และโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์

เฟซบุ๊ก ระบุในการฟ้องกลับครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาของยาฮู ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งกล่าวหายาฮู กลับไปว่า ยาฮู คือฝ่ายละเมิดสิทธิบัตรของเฟซบุ๊ก นับสิบรายการ อาทิเช่น โปรแกรมการแท็กรูปภาพ, ธุรกิจโฆษณา, และโปรแกรมการแนะนำต่างๆบนโลกออนไลน์

เมื่อเร็วๆนี้ เฟซบุ๊กเพิ่งได้รับสิทธิในการครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 750 ฉบับ ครอบคลุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และระบบเครือข่าย  ขณะที่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กครอบครองสิทธิบัตรเพียง 56 ฉบับเท่านั้นในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยาฮู ที่ครอบครองมากกว่า 1,000 ฉบับ

ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่เฟซบุ๊ก กำลังเตรียมเปิดขายหุ้นไอพีโอ ของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากเป็นไปตามคาด เฟซบุ๊กอาจระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้มูลค่าของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยาฮู มีมูลค่าตลาด ในปัจจุบันอยู่ที่ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

แผนแม่บทกับงานไอที


แผนแม่บทกับงานไอที

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการจัดการในหน่วยงานกลายเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเพื่อการสนองต่อเป้าหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานขนาดเล็กจนถึงองค์กรระดับประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกการที่หน่วยงานต่าง ๆ จะมีระบบสารสนเทศไม่ใช่เรื่องยาก (หากมีงบประมาณ) แต่การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามกระแสของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนั้นการวางแผนการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศจึงต้องคำนึถึงเรื่องราวต่าง ๆจำนวน มากและจำเป็นต้องมีแผนการหรือนโยบายดำเนินการต่าง ๆ จำนวนมกา ในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักกับแผนแม่บทสำหรับเทคโนโลยี สารสนเทศอย่างง่าย ๆ เท่านั้น แผนแม่บทกับงานไอที 
คำว่า "แผนแม่บท "มีความหมายในตัวคือ เป็นแผนการหรือนโยบายหลักที่ใช้เป็นต้นแบบซึ่งแผนการย่อยต่าง ๆ ที่มี อยู่จะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนแม่บทดังจะเห็นแผนแม่บทในเรื่องต่าง ๆ มากมาย
ในปัจจุบันได้มีการกำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เป็นกรอบและนโยบายในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เช่น จัดหาและนำเทคโนโลยีฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์รอบข้าง และรบบเครือข่ายโทรคมนาคมมาใช้ให้เหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ทำไมต้องมีแผนแม่บท 
การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้มีภาพรวมของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนและสอดคล้องกับแผนกและการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และเป็นกรอบหรือแนวทางในการดำเนินการ รวมถึงการพิจารณาต้นทุน การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากแผนแม่บทไอทีมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านอุปกรณ์ งบประมาณและบุคลากร แผนแม่บทไอทีจะช่วยให้มีการใช้สารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นส่วนก่อให้เกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขาดแผนการดำเนินงานที่ดี หน่วยงานที่ทำแผนแม่บทไอทีมักมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน ดังนี้
  1. เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ ที่เกิดขึ้นในระบบที่ใช้งาน หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่ใช้งานอยู่ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  2. เพื่อให้การออกแบบสำหรับระบบใหม่สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยให้สามารถนำระบสารสนเทศไปช่วยในการปฏิบัติงานได้จริงในส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนดสถาปัตยกรรมในระบบต่าง ๆ เช่น
  3. การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อระบุความต้องการทรัพยากรต่าง ๆ
  4. การออกแบบโครงสร้างระบบงานและสารสนเทศ
  5. การออกแบบโครงสร้างระบบงานเครือข่าย ทั้งภายในหรือเครือข่ายภายนอก
  6. การจัดลำดับความสำคัญของระบบงานย่อยต่าง ๆ
  7. การฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาบุคลากร
  8. การประเมินผลกระทบและความสำเร็จของระบบงานเชิงคุณภาพ
  9. เพื่อวิเคราะห์และประเมินค่าใช้จ่ายระบบงานประกอบด้วยการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ ทั้งปรับเปลี่ยนระบบเดิมและสร้างระบบใหม่หากจำเป็น การเชื่อมโยงสื่อสารข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงาน การผึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาควบคุมดูแล การดำเนินงานของโครงการ ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล และวิเคราะห์ช่วงเวลาการทำงานว่าตรงตามกำหนดหรือไม่เพื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้








  • เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้กับหน่วยงานหรือไม่ หรือนำมาใช้ในรูปแบบใด และลำดับขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นอย่างไร

  • ขั้นตอนการสร้างแผนแม่บท หน่วยงานที่ต้องการสร้างแผนแม่บททางสารสนเทศสำหรับหน่วยงานตนเองสามารถทำโดยการว่าจ้างบุคคลหรือ บริษัทด้านไอทีเป็นผู้วางแผนแม่บทให้(IT Outsourcing)หรือดำเนินการด้วยบุคลากรภายในหน่วยงานซึ่งทั้งสองวิธีก็มีทั้งข้อดีและ ข้อเสียทีแตกต่างกัน สำหรับแนวทางหลักในการดำเนิดการสร้งแผนแม่บทจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
    1. การศึกษาระบบงานเดิมและความต้องการของหน่วยงานตลอดจนนโยบายของหน่วย โดยศึกษาจากระบบและบุคลากรในหน่วยงาน
    2. การวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในระบบเดิมที่ใช้โดยการวิเคราะห์สภาพการจัดระบบงานสารสนเทศของหน่วยงานในเรื่องของความ พร้อมด้านอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ และระบบเครือข่าย การสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงบุคลากร โดยพิจารณาทั้ง ปริมาณ คุณภาพ และข้อจำกัดต่า ๆ โดยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  • ออกแบบและเลือกวิธีการดำเนินการระบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ในระบบเดิม
  • แผนการดำเนินงานตามวิธีที่เลือกในเรื่องของการลงทุนและช่วงเวลาที่ใช้และทบทวนใหม่ (เนื่องจากแผนแม่บทไอทีจะมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทำให้ต้องมีช่วงเวลาในการปรับแผนบางส่วน) เพื่อให้การใช้ระบบสารสนเทศมีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการมากที่สุด ตลอดจนสามารถรองรับงาน และมาตรฐานในอนาคตได้ เช่น การกำหนดช่วงเวลาในการเตรียมการจัดหา และกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ ซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูล และระบบเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม (เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วทำให้ช่วงเวลาในการจัดการที่ต่างกันนั้นจะได้อุปกรณ์มีคุณสมบัติแตกต่าง กัน แต่ต้องใช้งานร่วมกันได้) และกำหนดช่วงเวลาที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งอาจใช้เครื่องมือย่างเช่น Milestones , Critical Path Method(CPM) หรือ Gantt Chart ช่วยในการดำเนินการได้


  • แผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อการใช้งานระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญ และบุคลากรระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานไอที เช่น การจัดฝึกอบรม
  • กำหนดกฎต่าง ๆ สำหรับระบบสารสนเทศ เพื่อให้มีความเสถียร และสามารถใช้งานได้อย่างปกติ เช่น กำหนดกฎเกี่ยวกับเรื่องระบบความปลอดภัยข้อมูลกฎเกี่ยวกับการใช้งานและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ควรให้ผู้ใช้รู้สึกว่าถูกบีบหรืออึดอัดในการใช้งาน มิฉะนั้นแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้


  • สรุปและพยากรณ์ผลการดำเนินการทั้งด้านการลงทุนและสิ่งที่จะได้รับหลังการดำเนินการ เพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่และจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป


  • สรุป แผนแม่บทไอทีเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการดำเนินการทางด้านสารสนเทศของหน่วยงานต่าง ๆ และแผนแม่บทนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ก็ต่อเมื่อบุคลากรที่ใช้เห็นความสำคัญและสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพที่ได้นั้นต้องเพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานบริการหรือการค้าก็ตาม

    ERP

    ERP คืออะไรERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning 
    ERP คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm ) การทำงานได้อีกด้วย

    ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้

    ERP sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น

    แบบฝึกหัดบทที่ 14


    แบบฝึกหัดบทที่ 14
          1. จงยกตัวอย่างของการปรับองค์การในยุคสารสนเทศ
            ตอบ - องค์กรขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์กรขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                    - มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนแปลงหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
                   - ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
          2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร
    ตอบ กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตของสังคมที่ถูกผลักดันด้วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืนการผลิตและการตลาดต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต
          3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าคู่ยุคสารสนเทศอย่างไร
    ตอบ 3.1 ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การละอนาคต
              3.2 พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน แลแนวการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
              3.3 เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
    4. เทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง
    ตอบ  การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
              - การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
             - เครื่องมือในการทำงาน
               การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
               เทคโนโลยีในติดต่อการสื่อสาร
    5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานองค์การอย่างไร
    ตอบ โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือRISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์และการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ สมหลักเหตุผลของมนุษย์หรืระบบปัญญาประดิษฐ์
    6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร
     ตอบ    ใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ
    7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์                       
      ตอบ  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือแลกู้ภัย เป็นต้น
    8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
    ตอบ  เพราะผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ วางแผนต่าง ๆ ในบริษัท และผู้บริหารก็ต้องมความเข้าใจในเทคโนโลยีอีกด้วยเพื่อที่จะไปพัฒนาบริษัทให้ดีขึ้น
    9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        ตอบ    ทำความเข้าใจต่อบาบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน
                    ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ
                    วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ
    10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ตอบ   การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่นดารไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตตัวของพนังงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรืหารจารกรรม เป็นต้น

    แบบฝึกหัดบทที่ 13


    แบบฝึกหัดบทที่ 13
    1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นการซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    2. เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีการได้เปรียบคู่แข่ง
    ตอบ เพราะพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น จึงช่วยในองค์กรลดต้นทุนในการผลิตลง
    3. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ ประเภทของพาณิชย์อิกทรอนิกส์ จำแนก ประเภท
                   1. ธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business B2B ) เป็นการดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกันหรือระดับต่างกัน
                   2. ธุรกิจกับผู้บริโภค(Business to ConsumerB2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลและเลือกสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
                   3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government B2G) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการจะติดตามข้อมูลข่าวสสารและประมวลการจัดหาสินค้า หรือโครงการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                   4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to ConsumerC2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค มีการพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขานสินค้าในรูปแบบการประมูลสินค้า
    4. พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
        ตอบ การเพิ่มประสิทธิภาพละประสิทธิผล
                 - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
                 การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                 การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
                 การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
                 การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
                 โครงข่ายเศรษฐกิจ
                 การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
    5. หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย อะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ 1. ผลิตภัณฑ์ (Product) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตามความต้องการของลูกค้าทั้งด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงตรายี่ห้อสินค้า
             2. ราคา (Price) การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้าดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมตลาดละผู้บริโภค
             3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การหาทำเลที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน ศัพท์ทางอินเตอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม ดังนั้นทำเลการค้าทาอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย และสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์
             4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) กระบวนการที่จะทำให้สินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง
             5. การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิตหรืออีเมล์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเว็บไซ์ ดังนั้นผู้ดูแลเว็บไซ์จึงจเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจรรกรรมออกไปได้ ในส่วนตัวผู้ขายเองนั้น ก็จะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตังของลูกค้าคือ Privacy Policyให้ชัดเจนบนเว็บไซ์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่องครัด
            6. การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซ์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรม หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล และสามารถสร้างสินค้าและบริการจากพื้นฐานความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลจริง ๆ
    6. จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
             สามารถจัดหาสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่าง ๆ ได้โดยตรงและรวกเร็ว
             สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารเนื่องจากคุณประโยชน์อินเตอร์เน็ต
             - องค์กรที่มีขนานเล็กสามารรถดำเนินธุรกิจแข่งขันกับองค์การที่มีขนาดใหญ่ได้
             - สามารถสร้างผลประกอบการที่เป็นกำไรเพิ่มมากขึ้น
    7. จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
        ตอบ มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ผ่านทางฟังก์ชันระบบงาน สอบถาม กระทู้ สนทนา หรือแม้แต่ห้องสนทนา
                 ตัวบทกฎหมายในบางมาตราและด้านภาษียังไม่ได้รับกาปรับปรุงให้มีความเหมาะสม
                 นโยบายของเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเหมาะสม
                 ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
                 ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นและจับต้องสินค้าได้
                 - ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการสั่งซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน
    8. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
    ตอบ  ความไม่ปลดอภัยของข้อมูล ในกรณีที่ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์เจ้าของธุรกิจจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเสียค่าใช้จ่ายมาขึ้น และการใช้วิธีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนลูกค้าอาจจะต้องปวดหัวกับความยุ่งยาก จึงต้องมีการพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น แต่มีความปลอดภัยสูงสุด
             ในประเทศไทยยังขาดความสะดวกในเรื่องของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์อยู่บางประการ เช่น การไม่มีธนาคารที่รองรับความเสี่ยงในการประกอบการชำระเงินจากพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
              การที่ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในการซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และความลอดภัยของข้อมูลไม่มากเท่าที่ควร
              - รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการดูแลพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอในการควบคุมซื้อขายผ่านเว็บไซต์ทั้งรายใหญ่และรายย่อย
               ลูกค้ายังขาดความรู้เรื่องกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ส่วนในกรณีที่ลูกค้าอยู่ต่างประเทศการบังคบใช้กฎหมายยังมีความสับสนว่าจะต้องใช้ของประเทศใดเป็นหล

    แบบฝึกหัดบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ


    แบบฝึกหัดบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

    1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
    ตอบ     เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน
    2. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง
    ตอบ     ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชนกลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติกลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่งเมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไปการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ๆได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นการหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีนเป็นต้นดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดีที่จะสามารถแข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้
    3. องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
    ตอบ      การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาดการดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations)เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Ability) ขององค์การ
    4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
    ตอบ    โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การซึ่งประกอบไปด้วย
    ฐานข้อมูลต่างๆขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5. ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ
    ตอบ    ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
    6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
    ตอบ     องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษาแต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
    ตอบ     ผู้บริหารระบุความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
    1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ใน การออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
    2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการต่อเชื่อมระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็วถูกต้องและทั่วถึงซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้ผู้บริหาร
    3.ผู้ บริหารต้องวางแผนความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ
    8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ
    ตอบ      เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไรเพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย
    9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร
    ตอบ      - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
    - พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
    - พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด
    10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ
    ตอบ     เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้านและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    แบบฝึกหัดบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ


    แบบฝึกหัดบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

    1. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ตอบ     เพื่อได้มีความพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ สร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและผู้บริหารสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
    2.จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
    ตอบ     ขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ คือ การกำหนดกลยุทธ์กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การปริมาณโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและกำหนดรายละเอียดดำเนินงาน
    3.ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
    ตอบ     มีลักษณะเป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือมีการจัดสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจะประมวลผลสารสนเทศ
    4.ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อะไรบ้าง
    ตอบ    มีหน้าที่ที่สำคัญ   3   ประการคือ 
     1.การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
    2.การจัดการด้านการเงิน (Financial   Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
    3.การควบคุมทาการเงิน (Financial control)   เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
    1.การควบคุมภายใน  (Internal   Control)
    2.การควบคุมภายนอก (External   Control)
    5.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
    ตอบ    ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมี   8  ระบบดังนี้
    1.ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
    2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
    3.ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
    4.ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
    5.ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
    6.ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
    7.ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
    8.ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
    6.เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้างจงอธิบายอย่างละเอียด
    ตอบ       1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (Production/Operations Data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจัยของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหา และการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
    2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง (Inventory Data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
     3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ  (Supplier Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติและราคาวัตถุดิบ  ตลอดจนช่องทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange)หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
    4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร  (Labor Force and Personnel Data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
    5.กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) แผนกกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
    7.ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
    ตอบ     MRP คือ   ระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต, ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ เป็นต้น
    8.ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
    ตอบ    สามารถทำให้การผลิตและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมาก
    9.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
    ตอบ   เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    10.จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
    ตอบ    การตัดสินใจในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการ